วิธี... ทำให้เด็กคิด
ตามลูกให้ทันในยุค โซเชียลมีเดีย ครองโลก
การห้ามไม่ให้ลูกเล่นโซเชียลมีเดีย ไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดปัญหา
แต่ยังจะเป็นการประกาศให้โลกรู้ว่า “ก็ฉันน่ะมันโบราณสุด ๆ ไปเลย”
หากเราจะทำความรู้จักกับ โซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ค, ทวิตเตอร์ หรืออินสตาแกรมไว้ คงไม่เสียหาย เพราะมันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของโลก ยุคดิจิตอลของเราไปแล้วเรียบร้อย การห้ามไม่ให้ลูกเล่น โซเชียลมีเดีย เหล่านี้ ไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดปัญหา แต่ยังจะเป็นการประกาศให้โลกรู้ว่า “ก็ฉันน่ะมันโบราณสุด ๆ ไปเลย”
ยังไงเด็กก็จะเล่น
ไม่ว่าคุณจะคิดว่าคุณมีอำนาจสามารถบังคับไม่ให้ลูกท่องโลกออนไลน์มากแค่ไหน (เว้นแต่คุณจะขว้างคอมพิวเตอร์ทิ้ง) วัยรุ่นส่วนใหญ่ก็จะหาทางสร้างบัญชีเฟซบุ๊ค หรืออินสตาแกรมบนโทรศัพท์มือถือได้วันยังค่ำ ซึ่งความจริง มันก็ไม่ได้เป็นเรื่องเลวร้ายอะไร
ประโยชน์ของสื่อสังคมออนไลน์
ในบางครั้งที่ต้องอยู่ห่างจากลูก เราต้องขอบคุณนวัตกรรมสื่อออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ค และสไกป์ ที่ทำให้เรารู้สึกเหมือนอยู่ใกล้กันมากขึ้น หรือบางครั้ง เมื่อคุณสามี ต้องไปทำงานในต่างประเทศเป็นเวลานาน เครื่องมือออนไลน์เหล่านี้ก็ช่วยบรรเทา ความคิดถึงของคนที่ต้องอยู่ห่างกันคนละฟากโลกได้เป็นอย่างดี สื่อสังคมออนไลน์ยังมีประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมาย จำไว้ว่าไม่เพียงแต่เด็ก ๆ เท่านั้นที่ใช้ได้ แม้แต่ปู่ย่าตายายหลายคน ก็ยังมีเฟซบุ๊คเป็นของตัวเอง พวกเขาสามารถ ดูรูปลูก ๆ หลาน ๆ “พูดคุย” และติดตามเรื่องราวชีวิตของลูกหลานได้ เฟซบุ๊คทำ ให้ทุกคนสามารถติดต่อกับญาติมิตรที่อยู่ห่างไกล แบ่งปันรูปถ่าย และความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ ได้
รู้ทันโซเชียลมีเดีย
คุณอาจจะมีบัญชีเฟซบุ๊คเป็นของตัวเอง แต่จะมีพ่อแม่สักกี่คนที่เป็น “เพื่อน” กับลูก และเพื่อนลูกตัวเอง? ตอบตามความจริงนะคะ การจะรู้ทันลูกในยุคโซเชียลมีเดีย คุณควรจะทำตามข้อแนะนำดังต่อไปนี้:
- ยืนกรานที่จะเป็น ‘เพื่อน’ กับลูกให้ได้ หรืออย่างน้อยจนกว่าพวกเขาเรียนจบ
- อย่าตามติดลูกทุกฝีก้าวในโลกออนไลน์ โดยการแสดงความเห็น และ/หรือตั้งคำถามเกี่ยวกับทุกสิ่งอย่างที่ลูกโพส หรือใครก็ตามโพสบนวอลล์ของลูก
- รู้รหัสผ่านของลูก อย่างน้อยก็สำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี
- ล็อกอินเข้าบัญชีลูกเมื่อคุณมีเหตุผลที่ดีพอที่จะเข้าไปเท่านั้น เช่นเป็นห่วงความปลอดภัยของลูกจริง ๆ
- ให้ลูกรู้จักจัดการความปลอดภัยของบัญชีตัวเอง โดยให้มั่นใจว่าจะมีเฉพาะเพื่อน และคนรู้จักเท่านั้น ที่จะดูข้อมูลส่วนตัวได้
- ลองเช็ครายชื่อเพื่อนของลูกเป็นครั้งคราว เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีใครน่าสงสัย (เช่นมิจฉาชีพ ฯลฯ) มาแอบอ้างเป็นเพื่อนกับลูก
- โพสคอมเม้นต์ตลก ๆ บนหน้าวอลล์ของลูก และโม้เรื่องลูกบนหน้าของคุณเองบ้าง เป็นครั้งฟคราว มันเป็นเครื่องมือสื่อสารชั้นยอด หรือแอบส่งข้อความส่วนตัว บอกรักลูกบ้างก็ได้ ไม่ว่ากัน
เมื่อมีสิ่งไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้น
ถ้าจู่ ๆ ลูกเกิดทำตัวลึกลับ มีลับลมคมใน ไม่อยากให้คุณเห็นหน้าเฟซบุ๊ค หรือมีเพื่อนใหม่ ที่คุณไม่รู้จักหรือแลดูน่าสงสัย มันเป็นหน้าที่ของคุณที่จะค้นหาว่าเกิดอะไรขึ้น เมื่อต้องการหาความจริง อย่าถามลูกในลักษณะที่เป็นการกล่าวหาใส่ร้าย แค่บอกลูกว่าคุณ กำลังเป็นห่วงและปล่อยให้ลูกได้อธิบาย เมื่อรู้ต้นสายปลายเหตุ คุณสามารถทำในสิ่งที่ คุณคิดว่าจำเป็นต่อความปลอดภัยของลูก อธิบายเหตุผลให้ลูกเข้าใจว่าสิ่งที่คุณกำลังทำ ไม่ใช่การลงโทษ แต่เป็นการปกป้องลูก
Credit by: theasianparent.com